การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม

Main Article Content

ศราวุธ บุญปลอด
สุมาลี ศรีพุทธรินทร
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของสถานศึกษาเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษา (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (3) พัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 368 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเทียบตารางของ Krejcie and Morganได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .64-.84 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .98 ส่วนแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .44-.93 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .98 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษาสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นของของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษาลำดับแรก คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน (3) แนวทางการการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กิตติยา โพธิสาเกตุ. (2560). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาเอกชนสังกัดอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง. วิทยานิพนธ์ คศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2558). สภาพการบริหารจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. จังหวัดเพชรบูรณ์: วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ.

ณัฐภัค อุทโท. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนทางกายภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดช่องลม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. ชลบุรี. งานนิพนธ์ (กศ.ม.) มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประวีณา โภควนิช. (2559). แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พระมหาอำนวย ครองบุญ. (2554). การศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2555). หลักการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพ ฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สายชล วัฒนเกษกรณ์. (2560). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. นครสวรรค์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อมรรัตน์ โคตรชมภู. (2560). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์. (2555). รายงานการวิจัย: การศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพฯ: ภาควิชา เทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Alessandro. (2007). Learning Environment: Fefiding the Discourse onSchool Architechure. Journal School of Architect, 49(3): 65-82, 2007.

Cloonan, A. (2010). The Connection Between Learning Spaces and Student LearningOutcomes: a Literature Review. Melbourne: Department for Educationand Early Childhood Development.

Cleveland, B. (2015). Developing new approaches to the evaluation of physical learning environments: A return to the origins of post-occupancy evaluation in environmental psychology. University of Melbourne,

Jo O’ Mara. (2010). Australian Bureau of Statistics Census. s.l.: s.n.

Jo-Anne, B. (2014). The Move to Modern Learning Environments in New Zealand Secondary School: Step Forward or Smokescreen. Unites Institute of Technology.