สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางพัฒนาการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของการบริหารงบประมาณ (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงบประมาณ และ (3) พัฒนาแนวทางการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 216 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงบประมาณ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการบริหารงบประมาณ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง.65-85 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ.98 ส่วนแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงบประมาณ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกราย ข้อระหว่าง .52-92 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ.98 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงบประมาณ สถิติที่ใช้ ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงบประมาณโดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงบประมาณโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นของการดำเนินการบริหารงบประมาณลำดับแรก คือ ด้านแนวทางการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วม
(3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครพนม เขต 1 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การบริหารจัดการงบประมาณ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ
ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์. (2550), เอกสารประกอบการสอนวิชาการควบคุมคุณภาพการศึกษา. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรจันทร์ พรศักดิ์กุล. (2550). รูปแบบกระบวนการงบประมาณของโรงเรียนที่บริหารงบประมาณแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรินทร์ ยืนนาน. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.,มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิศาล สร้อยธุหร่ำ. (2551). แนวทางการบริหารโรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ ภูมิภาคิณศม์ อิสสระยางกูล. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงบประมาณและการเงินใน อนาคตสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษาภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนัส บุญชม. (2555). การพัฒนาระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนภาษาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ลาวัลย์ ศิษย์ศาสตร์. (2551). สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามมาตรฐานการจัดการทางการเงินในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีวิทยานิพนธ์ ค.ม. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
วีระพงษ์ ก้านกิ่ง. (2560). สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สนิท จันทรา. (2556). สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารงบประมาณของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20. การศึกษาอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2555). การบริหารทรัพยากรการบริหารสถานศึกษา School Administrative Resources Management คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์: มหาวิทยาลัยนครพนม.
Barr, Margaret J. ; McClellan, George S. (2017). Budgets and Financial Management in Higher Education. Third Edition. http:// www.josseybass.com
James, Edward William. (2013). Linking strategic planning Budgeting, and Financial Resource
Allocation in california community colleges. Accessed 10 April 2013. Available from http: // scholar.google.co.th/cholar
Julia Melkers and Patrick Mhatre. (2013). Use and The Effects of Using performancemeasures for Budgeting management and Reporting: Case Study state of Wisconsin. Accessed 3 April 2013. Available from http: //www.seagov.org./