การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) พัฒนาโปแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุนคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็น ทีมของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และประเมินโปรแกรมโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นด้านการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ยกเว้นด้านการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน อยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเป็นทีม เรียงลำดับจากความต้องการจำเป็นมากไปหาน้อยดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 3) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน 4) ความไว้วางใจและการยอมรับนับถือ และ 5) การสื่อสารอย่างเปิดเผยและสร้างสรรค์ ตามลำดับ
- โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกอบด้วย: 1) หลักการและความสำคัญ : 2) วัตถุประสงค์ ;
- เนื้อหา ประกอบด้วยสมรรถนะการทำงานเป็นทีม 5 หน่วย (Module) ได้แก่ Module 1 การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน Module 2 ความไว้วางใจและการยอมรับนับถือ Module 3 การสื่อสารอย่างเปิดเผยและสร้างสรรค์ Module 4 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน Module 5 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ; 4) กิจกรรมและเครื่องมือการพัฒนา ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลักคือ (1) การสร้างความตระหนักและการฝึกอบรม (2) การบูรณาการการทำงานเป็นทีมในการปฏิบัติงาน (3) การประชุมปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนผลการปฏิบัติงานเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง ; และ 5) การประเมินผลการทำงานเป็นทีม ส่วนผลการประเมินความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ของโปรแกรม อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
โกวัฒน์ เทศบุตร. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นและแนวทางในการสร้างทีมงานครูโรงเรียน มัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 295-304.
ธนัย เนียมกุญชร. (2553). สมรรถนะและความต้องการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนตามทัศนะของ ผู้บริหารและบุคลากรสายสนับสนุนในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือตอนบน.วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
พรรณพิตรา เสริมศรี. (2559). การศึกษาความคิดเห็นลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพกรณี ศึกษาข้าราชการสำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2554). คู่มือหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงาน, มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.
วิทยา จันทร์ศิริ. (2551). การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐวิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิรไท สันติประภพ. (2560) SMEs กับการนำไทยให้ก้าวไกลไปกับโลกยุค 4.0,"
https//www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Speeches/Pages/default. aspx สืบค้นเมื่อวันที่ 21เมษายน 2561.
สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน. (2553) คู่มือการประเมินสมรรถนะครู กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2547). แนวความคิดเรื่องสมรรถนะ (Competency) : เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์วารสาร.