การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3

Main Article Content

ชัยรัตน์ ดวงโชติ
วิทยา วรพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 3 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูด้านการ จัดการเรียนการสอน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3 ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความ ต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 โดยมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนตรวจสอบเครื่องมือ วิจัย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษามหาสารคาม เขต 3 จำนวน 276 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 3 โดยศึกษาโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนเป็นเลิศ 2 โรงเรียน และใช้แบบประเมินประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า


1. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริงมีความต้องการจำเป็นมากที่สุด


2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอน สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีการพัฒนา 5) การประเมินผล ผลการประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสมในระดับมาก และมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2550). การสอนเพื่อพัฒนาการคิดและการเรียนรู้ ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยนาท พลอยบุตร. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต30. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันทรัตน์ ฤทธิ์บำรุง. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูด้านการเป็นแบบอย่างทางการสอนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พวงเพชร ผัดกระโทก. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างครูผู้นำสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารและ พัฒนาการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์

พิมพาพัญ ทองกิ่ง. (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3. (2560). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณพ.ศ.2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. มหาสารคาม:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2547). การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กพ.

เอียน สมิธและอนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2550). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Facilitating Student-Centered Learning). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(2), 1-10.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research

Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3).

Lombardo, M., & Eichinger, R.W. (1996). The Career Architect Development Planner 4".

Lominger Limited.