การพัฒนาแนวทางการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

วุฒินันท์ รัตนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และพัฒนาแนวทางการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจ ซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) จำนวน 212 คน ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่น (a) ของแบบสอบถาม สภาพ ปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ที่ระหว่าง 0.96-0.97 และ 0.97 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันของการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X-3.72, S.D.-0.78) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-4.52, S.D.-0.67) และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาล พบว่า ด้านการควบคุม มีความ ต้องการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวัดผล และด้านข้อมูลสารสนเทศ ตามลำดับ

  2. การพัฒนาแนวทางการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาล ประกอบด้วย

5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. หลักการและเหตุผล 2. ความมุ่งหมาย 3. กลไก 4. แนวทางการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาล 5. เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน พบว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กิตติกวิน บุญรัตน์ และณรงค์ ใจเที่ยง (2562). การรับรู้คุณภาพและความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศและการให้บริการสารสนเทศของโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 5(2).

คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาระบบสารสนเทศด้านการสาธารสุขไทยวุฒิสภา. (2558). รายงานการ พิจารณาศึกษา เรื่อง ระบบสารสนเทศด้านการสาธารณสุขไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานวุฒิสภา.

พาณี สีตกะลิน. (2558). ผู้นำการบริหารโรงพยาบาล. [ออนไลน์], https://www.stou.ac.th/schools/ shs/booklet/book581/Hospital58 1.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562].

สมาคมเวชสารสนเทศไทย. (2559). กรอบการพัฒนาคุณภาพเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล (HITOIF).กรุงเทพฯ: คณะทำงานพัฒนากรอบการพัฒนาคุณภาพเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). โครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ. [ออนไลน์]. ได้จาก https://www.ocsc.go.th/ DLProject/about-dlp [สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562].

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ (2558), ประกาศนโยบายรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. [ออนไลน์]. ได้จาก http://203.157.186.15/newsdetail.php?nid=1866 [สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562].

รุ้งนภา ปรีชาโชติ. (2554). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนบ้านหนองคอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Klosinski, D.D. (1990). Attiutde Toward Computer-Use of Computers and Affective

Behavior Competency Among Medical Laboratory Professional. Dissertation

Abstracts International, 51(8): 376 1-B.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 3(30): 607-610.

Kontio, E. (2013). Informatics Management for Tactical Decision-making in the Cardiac

Care Process. Doctoral Dissertation University of Turku. Department of Nursing Science) Retrieved June 10, 2014 from https://www.doria.fi/bitstream/

handle/ 10024/91405/Annales.