รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศในบริบท ที่เปลี่ยนแปลงของโรงเรียน อบจ. บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศในบริบทที่เปลี่ยนแปลง โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศในบริบทที่เปลี่ยนแปลง โดยทำการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์เนื้อหา สรุปประเด็นข้อเสนอแนะจากแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และวิเคราะห์เนื้อหาสรุปประเด็นความคิดเห็นจากประชุมเชิงปฏิบัติการ ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา รวมจำนวน 90 คน 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศในบริบทที่เปลี่ยนแปลงฉบับร่าง ประเมินความความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบ ปรับปรุงรูปแบบตาม ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจากระยะที่ 2 กับโรงเรียนอบจ. บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) บันทึกข้อมูลผลลัพธ์คุณภาพด้านต่าง ๆ วิเคราะห์แบบสอบถามครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา รวม 85 คน ผู้ปกครอง จำนวน 295 คน ซึ่งประกอบด้วย 7 ด้าน คือ (1) การนำองค์กร (2) กลยุทธ์ (3) ผู้เรียน (4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (5) บุคลากร (6) การปฏิบัติการ และ (7) ผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1)รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศในบริบท ที่เปลี่ยนแปลงของโรงเรียนอบจ. บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) มีความความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และการใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (2) รูปแบบมีโครงสร้างตามกระบวนการเชิงระบบ องค์ประกอบในด้านกระบวนการประกอบด้วยวงจรคุณภาพ PDCA และ SUNTREE คือ โรงเรียนแห่งการเรียนรู้และความคล่องตัว ความเป็นหนึ่งเดียวในองค์กร สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริหารแบบมุ่งผลลัพธ์ จริยธรรมและความโปร่งใส และการสร้างความเป็นเลิศ
(3)ผลการทดลองใช้รูปแบบส่งผลให้โรงเรียนอบจ. บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) มีผลการดำเนินการดีขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของ ผู้เรียน(RT) ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน นักเรียนมีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ โรงเรียนได้รับรองการประกันคุณภาพภายนอกรอบที่ 4 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเป็นต้น (4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบจากครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และ ผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปปรับใช้หรือเป็นแนวทางในการบริหารสถานศึกษาอื่น ๆ ได้
Downloads
Article Details
References
กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2564). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศฉบับปี2563 - 2566. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
โนรีณี เบ็ญจวงศ์, และ นิรุทธิ์ นันทมาศวังนรา. (2565), ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคโควิด-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(47), 1-13.
มะลิวัลย์ โยธารักษ์, และ อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารมจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 705-717.
สมาพร ลี้ัยรัตน์, ธานี เกสทอง, และ นันทิยา น้อยจันทร์. (2560). รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา. สุทธิปริทัศน์, 31(100), 261-273.
สำนักงานกรรมการข้าราชการพลเรือน. (ม.ป.ป.). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.เรียกใช้เมื่อ 8 สิงหาคม 2565 จาก สำนักงานกรรมการข้าราชการพลเรือน: https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/article/7.1_hlakthrrmaaphibaalkhngkaar-brihaarkicchkaarbaanemuuengthiidii.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2565-2566 (TQA Criterial for Performance Excellence Framework 2565-2566) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2579. กรุงเทพมหานคร:พริกหวานกราฟฟิค.
อภิชาต อรรคอำนวย. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนโนนไฮหนองอีกุ้มวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 1.วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 43-54.
อร่าม วัฒนะ นันทิยา น้อยจันทร์ และสาธร ทรัพย์รวงทอง. (2562) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 55-70.
อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 14(2), 178-195.
Ah-Teck, J. C., & Starr, K. (2013). Principals' perceptions of "quality" in Mauritian schoolsusing the Baldrige framework. Journal of Educational Administration, 51(5),680-704.
Bawany, S. (2018). Leading in a Disruptive VUCA World. New York: Expert InsightsSeries by Business Express Press (BEP) Inc. LLC. Retrieved from https://www.businessexpertpress.com/wpcontent/uploads/2020/04/Developing-a-High-Performance-Organization-in-a-VUCA-World.pdf
Denning, S. (2018). The Age of Agile: How Smart Companies Are Transforming the WayWork Gets Done. Amacom.
Medinilla, Á. (2012). Agile management: Leadership in an agile environment. Heidelberg:Springer.