การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม

Main Article Content

ธนัตถ์พร โคจรานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม 2) พัฒนาโปรแกรม พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม 3) ประเมินผลการพัฒนาครูโดยใช้โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือครูผู้สอน โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม จำนวน 96 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียน ต้นแบบ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็นปรับปรุง


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม มีสภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรียงลำดับความต้องการจำเป็นตามลำดับได้ดังนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี และการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

  2. โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ประกอบด้วย

6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรมโปรแกรม 5) สื่อวัสดุอุปกรณ์และ 6) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม โปรแกรมมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด


3. ผลการพัฒนาครูโดยใช้โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม พบว่า ครูมีการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยมีผลการประเมินด้านความรู้ในการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านทักษะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และด้านคุณภาพในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งสามด้าน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรรณิการ์ ปัญญาดี. (2558). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกออนไลน์เพื่อการพัฒนาผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เชิดศักดิ์ ภัคดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อ มั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ญาณภัทร สีหะมงคล. (2552). การวิจัยและพัฒนา. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2563. จาก http://www.ntc.ac.th/news/ntc_50/research/20/res.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2563). สารานุกรมการบริหารและการจัดการ 70-20-10 Rule สัดส่วนการเรียนรู้แบบผสมผสาน. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2563. จาก https://drpiyanan.

com/2018/11/19/702010/.

ปรียานุช พรหมภาสิต. (2558). คู่มือการจัดการเรียนรู้ Active Learning (AL) for Huso at KPRU.สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2563.จาก http://huso.kpru.ac.th/File/KM%20Book-58,pdf.

ฟาตีฮะห์ อุตสาห์ราชการ. (2558). รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นไหวสะเทือน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยบูรพา.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learing กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ "วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน" นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 1-14.

วิภาวรรณ ฉายดิลก. (2562). โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศราวุฒิ สนใจ. (2562). โปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารศึกษาศาสตร์, 30(3), 145-159.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิค.

สุเทพ อ่วมเจริญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูคณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรุโณทัย ระหา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL)ของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.