ทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร

ผู้แต่ง

  • ลักขณา สริวัฒน์ รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร, กระบวนการทางความคิดระดับสูง, ความจำขณะทำงาน, การยับยั้งตัวเอง, ความยืดหยุ่นในกระบวนการคิด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร (Executive Functions หรือ EF) อันเป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้อง กับความคิด ความรู้สึก และการกระทำของบุคคลซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการด้านการคิดที่พัฒนา ขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็กตลอดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นบุคคลที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการคิดเชิงบริหารอย่างเหมาะสมตามวัยจะควบคุมอารมณ์และความต้องการได้ และส่งผลให้สามารถยับยั้งใจตัวเองรวม ทั้งกำกับความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนนำไปสู่ความสำเร็จได้ ทักษะด้านการคิดเชิงบริหารประกอบไปด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการคือ ความจำขณะทำงานการยับยั้งตัวเอง และความยืดหยุ่นในกระบวนการคิด ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเหล่านี้ให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ เห็นได้ว่าทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร นี้มีความสำคัญมากสำหรับพ่อแม่ที่ควรรู้และเข้าใจในการอบรมเลี้ยงดูลูก และครูอาจารย์ที่อบรมสั่งสอน นักเรียน ด้วยวิธีการให้ลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลายด้วยตนเอง เพราะกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าว ต้องผ่านกระบวนการความจำขณะทำงาน การยับยั้งตัวเอง และความยืดหยุ่นในกระบวนการคิด ทำให้ผู้กระทำได้พัฒนาทักษะสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิตในด้านต่างๆ ของตนเองให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนรู้ การทำงาน และการใช้ชีวิต ดังนั้นบุคคลที่มีทักษะด้านการคิดเชิงบริหารจึง มีการคิดจัดการและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม อันเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ3-6 ปี). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.

เกดิษฐ์ จันทร์ขจร. (2562). การบริหารจัดการของสมองขั้นสูง: แนวคิดและแนวทางประยุกต์เพื่อ พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2), 111-126.

จุฑามาศ แหนจอน. (2560). การพัฒนาหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่นโดยหลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 130-144.

ฐาปณีย์ แสงสว่าง, วิไลลักษณ์ ลังกา, ดารณี อุทัยรัตนกิจ และสุวพร เซ็มเฮง. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารBU ACADEMIC REVIEW, 15(1), 14-28.

ดุษฎี อุปการ และอรปรียา ญาณะชัย. (2561). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใช้หลักการใด: "การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน" หรือ "การคิดเชิงบริหาร".Veridian E-Journal, 11 (1), 1635-1651.

พัชรินทร์ พาหิรัญ. (2561). ผลของโปรแกรมสมอง จิตใจ และการเรียนรู้ ต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองในนักเรียนชั้นประถมศึกษา วิทยานิพนธ์ วศ.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.). Executive Functions. https:/th.wikipedia.org/wiki/Executivefunctions

วีระศักดิ์ ชลไชยะ. (2561). พัฒนา EF ตั้งแต่ปฐมวัย...รากฐานของการพัฒนาประเทศในยุค Thailand4.0. สื่อสารกุมารแพทย์, 39(1), 11-13.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions ในเด็กวัย 13-18 ปี สำหรับพ่อแม่และครู, กรุงเทพฯ: ไอดีออล ดิจิตอล พริ้นท์จำกัด.

Ahrens, B., Lee, M., Zwibruck, C., Tumanan, J., & Larkin, T. (2019). The Role of ExecutiveFunction Skills for College Age Students. [Online]. Available from: https://ir.library.illinoisstate.edu/giscsd/19 [accessed 15 May 2020].

Anderson, V. (2001). Assessing executive functions in children: biological, psychological, and developmental considerations. Pediatric Rehabilitation, 4(3), 119-136.

Bindman, S. W., Hindman, A. H., Bowles, R. P., & Morrison, F. J. (2013). The Contributionsof Parental Management Language to Executive Function in Preschool Children.Early Childhood Research Quarterly, 28(3), 529-539.

Calwell, S., Wilson, F. C., McBrinn, J. Carton, S., Delargy, M., McCann, J. P. Walsh, J., &McGuire, B. E. (20 14). Self-awareness following acquired brain injury: measurement and relationship to executive functioning. Journal of Psychology, 53-68.

Center on the Developing Child at Harvard University. (2011). Building the Brain's "Air TrafficControl" System: how early experiences shape the development of executive function. [Online]. Available from: http://www.developingchild. harvard.edu.[accessed 25 April 2020].

Cooper-Kahn, J., & Dietze, L. (2009). Executive Functioning. [Online]. Available from:https://chadd.org/wpcontent/uploads/2018/06/ATTN_02_09_ExecutiveFuncti oning.pdf.[accessed 25 April 2020].

Cristofori, I., Cohen-Zimerman, S., & Grafman, J. (20 19). Executive functions. Handbook ofClinical Neurology, 163, 197-219.

Diamond, A. (2013). Executive Functions. The Annual Review of Psychology, 64, 135-68.

Gallant, S. N. (2016). Mindfulness meditation practice and executive functioning:Breaking down the benefit. Consciousness and Cognition, 40, 116-130.Huizinga, M., Baeyens, D., & Burack. J. A. (2018). Editorial: Executive Function andEducation. Frontiers in Psychology, 9, 5-7.

Jahja, R., Spronsen, F. J. V., Sonneville, L. M. J. D., Meere, J. J. V. D., Bosch, A. M., Hollak,C. E. M., Rubio-Gozalbo, M. E., Brouwers, M. C. G. J., Hofstede, F. C, Vries, M.C., Janssen MCH, Ploeg, A. T., Langendonk, J. G., & Huijbregts, S. C. J. (2016).

Social-cognitive functioning and social skills in patients with early treated phenylketonuria: a PKU-COBESO study. The Journal of Inherited Metabolic Disease Retweeted, 39(3), 355-362.

Karbach, J., & Unger, K. (2014). Executive control training from middlechildhoodtoadolescence[Online].Availablefrom:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/[accessed 25 April 2020].

Lima-Silva, T. B., Fabrício, A. T., Silva, L. D. S. V. E, Oliveira, G. M., Silva, W. T., Kissaki, P. T.,Silva, A. P. F., Sasahara, T. F., Ordonez, T. N., Oliveira, T. B., Aramaki, F. O., Buriti,A., & Yassuda, M. S. (2012). Training of executive functions in healthy elderly:Results of a pilot study. Dement Neuropsychol, 6(1), 35-41.

Madjar, N., Chubarov, E., Zalsman, G., Weiser, M., & Shoval, G. (2019). Social Skills,executive functioning and social engagement. Schizophrenia Research:

Cognition, 17.

Marschark, M., Walton, D., Crowe, K., Borgna, G., & Kronenberger, W. G. (2015). Relations of Social Maturity, Executive Function, and SelfEfficacy among Deaf University Students. Deafness & Education International, 20(2), 100-120.

Moriguchi, Y., Chevalier, N., & Zelazo, P. D. (2016). Editorial: Development of Executive Function during Childhood. [Online]. Available from: https://www.frontiersin.org/ articles/10.3389/fpsyg.2016.00006/ [accessed 25 April 2020].

Traverso, L., Viterbori, P., & Usai, M. C. (2015). Improving executive function in childhood: evaluation of a training intervention for 5-year-old children. [Online]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC4415324/ [accessed 25 April 2020].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-18