การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกันเรียนรู้รายวิชา คอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บไซต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บไซต์ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บไซต์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 2 “อิสาณธีรวิทยาคาร” ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบการสอนบนเว็บแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บไซต์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของ รูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอน และ 4) การวัดและประเมินผล โดยมีกระบวนการเรียนการสอน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการสอน ขั้นที่ 2 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นย่อย 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Prepare) 2) ขั้นศึกษาองค์ความรู้และฝึกหัด (Knowledge and practice) 3) ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม (Activities) 4) ขั้นประเมินความรู้ (Knowledge assessment) และขั้นที่ 3 ขั้นประยุกต์ใช้ 2. ผลการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บไซต์ มีผลดังนี้
2.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์โดยใช้เว็บไซต์ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 83.27/82.92
2.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชา คอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บไซต์ มีค่าเท่ากับ 0.4131
2.3 นักเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกัน เรียนรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บไซต์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีแบบร่วมมือกันเรียนรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บไซต์อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.66, S.D.=0.48)
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2554. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จิระ ดีช่วย. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมร่วมกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยาและความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปสาสน์ กงตาล. (2534). การเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 18(ตุลาคม 2534), 19-23.
ปิยนันท์ ปานนิ่ม. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบร่วมมือ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), (เดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559).
ปานทิพย์ ดอนขันไพร. (2551). การพัฒนารูปแบบการสอนคอมพิวเตอร์แบบเน้นการร่วมมือกันเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะทาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ วท.บ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2552). สภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี การพิมพ์.
วิชุดา รัตนเพียร. (2548). การเรียนการสอนบนเว็บชั้นนำ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยากร เชียงกูล. (2553). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2551/2552 บทบาทการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
ศยามน อินสะอาด. (2553). การพัฒนารูปแบบอ็อบเจกต์เลิร์นนิ่งเพื่อเสริมสร้างการสร้างความรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์ ค.ด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายันต์ โพธิ์เกตุ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(1-2), 77-86.
Driver, R.H. and Bell. (1986). Students thinking and the learning of science: A constructivist view. The School Review, 67(240), 443-456.
Driscoll, M. (2002). Blended Learning: let’s get beyond the hype. E-learning, March 2015. http://elearningmag.com/ltimagazine.
Khan, K. (ed.). (1997). Web based Instruction. Englewood Cliff, New Jersey: Educational Technology publications.
Kevin, K. (2008). Introduction to Instructional Design and ADDIE Model. [Online] Accessed 30 December 2008. Available from http:// www.e-eaningguru.com.articles/art2_1.htm
Parson, R. (1997). An Investigation into Instruction available on the World Wide Web. [n.p.].
Slavin, Robert E. (1984). Team-Assisted Individual: Cooperative Learning and Individualized instruction in the Mainstreamed Classroom. Remedial and Special Education (RASE), 5(12), 33-42.
Slavin, Robert E. (1990). Cooperative learning theory, research, and practice. Boston: Allyn and Bacon Seventh-Grade Students Achievement, Attitudes, Empathy, and Transfer of Skill.