ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การ ขีดสมรรถนะสูงโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2

Main Article Content

ศริญญา ผันอากาศ
สมใจ ภูมิพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์องค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยโสธร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 จ􀄽ำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ.95 และความเป็นองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน เท่ากับ.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กร 2) ระดับความเป็นองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการนำองค์การ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการจัดกระบวนการ และด้านผลลัพธ์
การดำเนินการ 3) การสร้างสมการพยากรณ์องค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 พบว่าภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (X4) ด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม (X3) และด้านการสร้างบรรยากาศองค์กร (X5) สามารถพยากรณ์ความเป็นองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 (Y) ได้ร้อยละ 79.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเขียนสมการณ์พยากรณ์ได้ ดังนี้


Predicting equation in raw score form:
Y´ = 0.694 + 0.375X4 + 0.303X3 + 0.178X5
Predicting equation in standardized form:
Z´y = 0.389ZX4 + 0.317 ZX3 + 0.206 ZX5

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชวลิต โพธิ์นคร (2560). การศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0. (Online). https://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0/. 3 ธันวาคม 2563.

ฐิตินันท์ นันทะสี และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(1), 11-20.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปริวัฒน์ ยืนยิ่ง (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 330-334.

ปวีณา กันถิน และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. วารสารวิชาการ มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 1833-1848.

ไพฑูรย์ สิลลารัตน์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 69. (Online). https://esan69.sillapa.net/sm-esan/. 12 กรกฎาคม 2563.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 (2561). ผลทดสอบคะแนนโอเน็ต. (Online). http://www.yst2.go.th/web/?page_id=3705. 10 กรกฎาคม 2563.

สุรียะ ทวีบุญญาวัตร และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2559). รูปแบบองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 795-814.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์ (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประสาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.