วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: XXXX - XXXX (Online) https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD <p><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร</strong></p> <p> วารสารเปิดรับผลงานวิชาการที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร เป็นผลงานวิชาการทางการศึกษา การบริหาร และนิเทศทางการศึกษา และผลการค้นคว้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในรูปแบบบทความวิจัย และบทความทางวิชาการ มีเนื้อหาสาระน่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นการสร้างความรู้ใหม่ และเป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารหรือเอกสารอื่นๆ มาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาพิมพ์เผยแพร์ในวารสารใด ๆ</p> th-TH Thu, 28 Dec 2023 14:06:59 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การปรับเปลี่ยนบทบาททางการศึกษายุคใหม่ของครูและผู้เรียน https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/29 <p>สังคมมีความเป็นพลวัต แปรผันสูง ส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในสังคมทุกมิติ รวมไปถึงระบบการศึกษา ครูซึ่งทำหน้าที่ในกลไกขับเคลื่อนการศึกษา จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน และพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ คุณธรรม จรรยา กริยาทั้งกาย และใจ อันจะนำตัวตนของครูที่แท้ไปสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู ด้วยความร่วมมือในการเรียนรู้ร่วมกันทั้งครูและผู้เรียน มุ่งสู่การจัดการเรียนรู้เกิดคุณค่า มีความหมายต่อชีวิตอย่างเป็นองค์รวม อันเปี่ยมด้วยความสุขของครูและผู้เรียน อันเป็นหมุดหมายใหญ่ยิ่งที่เท่าทันต่อยุคสมัย ผู้คน และเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนบทบาทของครู และผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป</p> วรรณิษา หาคูณ, อริยพร คุโรดะ, อินอร เลียวประเสริฐกุล Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/29 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 The frequency and functions of Teachers’ use of L1 in EFL classrooms https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/51 <p>This paper reports the frequency and functions of L1 teachers used in EFL classrooms. A questionnaire was used to collect data from 115 EFL teachers working in primary and secondary schools in Thailand<strong>. </strong>The findings showed that the teachers’ years of teaching had an impact on their responses. The teachers with less experience never used L1 in dealing with classroom management problems in class and in giving individual help to learners. They also never used L1 to explain feedback and explain learners’ errors. The more experienced teachers never used L1 for many more situations. The findings have implications for approaches to EFL classrooms and further discussion on reflective teaching practices.</p> Peter James Hoffman, Thooptong Kwangsawad Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/51 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/23 <p>การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 2) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู อาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จำนวน 347 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน</p> <p>ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการบริหารงานบุคคลของ ผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.82 และแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู เท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การวางแผนอัตรากำลัง การสรรหาและการบรรจุ และด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร และการให้ออก/พ้นจากราชการ 2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ สภาพแวดล้อมการทำงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานหรือกลุ่มงาน และค่าตอบแทน 3) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาด้านด้านการสรรหาและการบรรจุ (X<sub>2</sub>) ด้านการพัฒนาบุคลากร (X<sub>4</sub>) ด้านการให้ออก/พ้นจากราชการ (X<sub>5</sub>) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน (X<sub>3</sub>) และด้านการวางแผนอัตรากำลัง (X<sub>1</sub>) ร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจการปฏิบัติงานของครูอาชีวศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ได้ร้อยละ 32.00 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p> Y´ = 1.942 + .338X<sub>2 </sub>+ .062X<sub>4 </sub>+ .040X<sub>5</sub> + .061X<sub>3</sub> + .072X<sub>1 </sub></p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p> Z´<sub>y</sub> = .376Z<sub>X2</sub> + .102Z<sub>X4</sub> + .097Z<sub>X5 </sub>+ .109Z<sub>X3 </sub>+ .104Z<sub>X1</sub></p> เวทิดา ศรีเดช, โกวัฒน์ เทศบุตร Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/23 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/50 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา (3) พัฒนาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา (4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 47 คนและครู จำนวน 258 คน รวมทั้งสิ้น 305 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามขนาดของสถานศึกษา โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .72–.90 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .99 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .45–.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .98 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุก ข้อ และ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .80-1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI<sub>modified</sub>)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการสอน</li> <li>แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา 1) ด้านความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ต้องศึกษานโยบายของรัฐ มีองค์ความรู้รอบด้านและนำข้อมูลผลสัมฤทธิ์ต่าง ๆ เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน 2) ด้านความเชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรรอบรู้ เท่าทันสื่อ และมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ 3) ด้านความเป็นเลิศทางวิชาชีพ มุ่งพัฒนาองค์กรให้มีการดำเนินงาน ที่เป็นเลิศ และส่งเสริมให้ครูและบุคลากรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างสื่อและนวัตกรรม 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการสอน ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สร้างสื่อการสอนและจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 5) ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์ และเป็นต้นแบบการศึกษานโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 6) ด้านกำกับ ติดตาม และประเมินงานอย่างต่อเนื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผน และประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ</li> <li>ผลการประเมินแนวทางพัฒนาโดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมาก</li> </ol> อรพิน ปัททุม, ชาญวิทย์ หาญรินทร์, ไพฑูรย์ พวงยอด Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/50 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/49 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา (3) พัฒนาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา (4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 47 คน และครู จำนวน 258 คน รวมทั้งสิ้น 305 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามขนาดของสถานศึกษา โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .80 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .27 – .83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .96 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80–1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .26 – .78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .96 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าดัชนี ความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีค่าดัชนี ความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์</li> <li>แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษาข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการปฏิบัติงาน 2) ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการระบบข้อมูลในสถานศึกษา 3) ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา 4) ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง ใช้คำพูด ท่าทาง การวางตนที่เหมาะสม 5) ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ผู้บริหารสถานศึกษา ควรสนับสนุนให้บุคลากรในกลุ่มเครือข่ายได้แสดงศักยภาพของตน 6) ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นผู้ที่มีจิตใจดี โอบอ้อมอารี มีความรักและความศรัทธาในวิชาชีพ</li> <li>ผลการประเมินแนวทางพัฒนาโดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความ เป็นไปได้ในระดับมาก</li> </ol> จามจุรี อินไชยา, ชาญวิทย์ หาญรินทร์, ไพฑูรย์ พวงยอด Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/49 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานนานาชาติของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นจากความคิดเห็นของสถานประกอบการในต่างประเทศ https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/36 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานนานาชาติของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นจากความคิดเห็นของสถานประกอบการในต่างประเทศ และเพื่อประเมินทักษะของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ผ่านการปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานนานาชาติ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ สถานประกอบการ ณ ต่างประเทศ ที่รับนักศึกษาเข้าปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 แห่ง ได้มาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลกับเจ้าของกิจการ ผู้อำนวยการ และผู้จัดการ ของสถานประกอบการ ณ ต่างประเทศ เครื่องมือทางสถิติที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 18 ข้อ เป็นแบบเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานนานาชาติ ทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2) ผลการประเมินทักษะของนักศึกษาที่ผ่านการปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานนานาชาติ ทั้ง 8 ทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ทราบผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานนานาชาติ และทักษะของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานประกอบการในต่างประเทศเพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะและทักษะตามความต้องการของสถานประกอบการได้อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อร่วมกันในการพัฒนาทักษะนักศึกษาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานนานาชาติ ให้เกิดการร่วมมือดำเนินการด้วยกันอย่างแท้จริงทั้งในการร่วมกันวางแผนจัดทำโครงการ สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานนานาชาติ ตลอดจนการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาทั้งในทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมกับให้มีการดำเนินการที่ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมชัดเจน </p> ภรณ์ฑิพย์ เจริญราษฎร์, จีระศักดิ์ เกษจันทร์ Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/36 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700