วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD
<p><strong><img src="https://so20.tci-thaijo.org/public/site/images/thatchai/136b9f31-b7f2-4ef6-9d48-f3048af63870.jpg" alt="" width="735" height="232" /></strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร</strong></p> <p> วารสารเปิดรับผลงานวิชาการที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร เป็นผลงานวิชาการทางการศึกษา การบริหาร และนิเทศทางการศึกษา และผลการค้นคว้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในรูปแบบบทความวิจัย และบทความทางวิชาการ มีเนื้อหาสาระน่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นการสร้างความรู้ใหม่ และเป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารหรือเอกสารอื่นๆ มาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาพิมพ์เผยแพร์ในวารสารใด ๆ</p>
th-TH
วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
-
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อทักษะผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬ
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/91
<p><span class="fontstyle0">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบทักษะผู้เรียนในสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กับทักษะผู้เรียนในสถานศึกษา 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อทักษะผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 31 คน และครูจำนวน 332 คน รวมทั้งสิ้น 363 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80 -1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .60 - .85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ<br />.97 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะผู้เรียนในสถานศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80 -1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .58 - .86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test Independent Samples) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</span> </p> <p><span class="fontstyle0">ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่าโดยรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะผู้เรียนในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพพบว่า โดยรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กับทักษะผู้เรียนในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (r</span><span class="fontstyle0">xy </span><span class="fontstyle0">= 0.71) 4) ตัวแปรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อทักษะผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬ มี 3 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยี (X</span><span class="fontstyle0">3</span><span class="fontstyle0">) ด้านการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ (X</span><span class="fontstyle0">4</span><span class="fontstyle0">) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (X</span><span class="fontstyle0">6</span><span class="fontstyle0">) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 55 สามารถเขียนสมการ ได้ดังนี้<br />สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ<br />Y' = .49 + .34X</span><span class="fontstyle0">3 </span><span class="fontstyle0">+ .31 X</span><span class="fontstyle0">4 </span><span class="fontstyle0">+ .18X</span><span class="fontstyle0">6<br /></span><span class="fontstyle0">สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน<br />Zy' = .36Z</span><span class="fontstyle0">3 </span><span class="fontstyle0">+ .32Z</span><span class="fontstyle0">4 </span><span class="fontstyle0">+ .19Z</span><span class="fontstyle0">6</span> </p>
ศุภสิทธิ์ วงศ์เทพ
ชาญวิทย์ หาญรินทร์
ไพฑูรย์ พวงยอด
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
1
13
-
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/93
<p>ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารเป็นกลไกสำคัญที่จะเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนของครู จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการจัดการเรียนรู้ของครู 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 57 คน และครู จำนวน 335 คน รวมทั้งสิ้น 392 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร จำนวน 60 ข้อ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน ด้านละ 5 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .60 - .85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครู มีทั้งหมด 60 ข้อ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน ด้านละ 5 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .58 - .86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที แบบ Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน (2) การจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน (3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการจัดการเรียนรู้ของครู มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (4) ตัวแปรภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ร่วมส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มี 3 ตัวแปรได้แก่ ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับครู นักเรียนและชุมชน (X<sub>6</sub>) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ (X<sub>3</sub>) ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน (X<sub>2</sub>) สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 43 สามารถเขียนสมการ ได้ดังนี้</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p>Y' = 1.87 + .29X<sub>6</sub> + .19X<sub>3</sub> + .07X<sub>2</sub></p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Zy' = .43Z<sub>6</sub> + .25Z<sub>3</sub> + .11Z<sub>2</sub></p>
ภัควดี รักษ์โคตร
ชาญวิทย์ หาญรินทร์
ไพฑูรย์ พวงยอด
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
14
26
-
การพัฒนากิจกรรมการฝึกตารางเก้าช่อง เพื่อส่งเสริมความคล่องแคล่วว่องไว สำหรับนักกีฬาฟุตซอลระดับมัธยมศึกษา
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/505
<p>การพัฒนากิจกรรมการฝึกตารางเก้าช่องเพื่อส่งเสริมความคล่องแคล่วว่องไว เป็นเครื่องมือช่วยนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาบรรลุเป้าหมายและเกิดประสิทธิผลได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการฝึกตารางเก้าช่องและ ศึกษาระดับผลการฝึกตารางเก้าช่องที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล 2) เปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับการฝึกด้วยตารางเก้าช่องของนักกีฬาฟุตซอล 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการฝึกตารางเก้าช่อง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนกีฬาฟุตซอล จำนวน 24 คน โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน โปรแกรมการฝึกตารางเก้าช่อง จำนวน 8 โปรแกรม แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย และ แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 5 ข้อ คุณภาพเครื่องมือ ของแบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติด้วย t-test (Dependent Samples)</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) การฝึกตารางเก้าช่องมีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวในการเล่นกีฬาฟุตซอลโดยรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.39 วินาที (S.D. = 1.32) ก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.46 วินาที (S.D. = 1.34) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และ หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.39 วินาที (S.D. = 1.32) ซึ่งอยู่ในระดับดี 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกตารางเก้าช่อง มีความคล่องแคล่วว่องไวในการเล่นกีฬาฟุตซอลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีเวลาเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไวก่อนการฝึกเท่ากับ 21.46 วินาที (S.D. = 1.34) และ หลังการฝึกเท่ากับ 19.39 วินาที (S.D. = 1.32) ตามลำดับ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการฝึกตารางเก้าช่องโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.96 (S.D. = 0.12)</p>
ธีรพงศ์ พิมลี
อธิราชย์ นันขันตี
นิราศ จันทรจิตร
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
27
48
-
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/514
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี (2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 334 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของ Yamane และในการเลือกตัวอย่างผู้วิจัยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 1 ฉบับ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 อันดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้อำนวยการสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
สุทธิพงศ์ เสมสูงเนิน
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
49
66
-
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกัน เชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลเมืองปัตตานี
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/516
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 28 คน และนักเรียน จำนวน 234 คน รวมทั้งสิ้น 262 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินทักษะ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า BUKAR Model นำไปดำเนินการพัฒนาครูโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน เพื่อวัดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ปรากฏว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. การทดลองใช้รูปแบบ ได้มีการนำรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายในไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครู ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการ ได้ดังผลการทดลองก่อนดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน - หลังการดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4.การศึกษาความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไข ปรากฏว่าครูและนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p>
นันทวรรณ คงสีปาน
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
67
86
-
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยตามแนวคิดการเรียนรู้ในระหว่างการทำงานและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดบางลี่ (พานิชอุทิศ)
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/518
<p>การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) การศึกษาความต้องการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยตามแนวคิดการเรียนรู้ในระหว่างการทำงานและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน 40 คน และผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาวิเคราะห์ ระยะที่ 2) การพัฒนารูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ผู้บริหาร 2 คน และครูผู้สอน 40 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม และแบบตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3) การทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูผู้สอน 40 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ด้านการวิจัย แบบประเมินทักษะการวิจัย และแบบประเมินเจตคติต่อการวิจัย และ ระยะที่ 4) การประเมินความพึงพอใจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยมีความต้องการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัย ได้แก่ 1) การกำหนดค่านิยมร่วมกัน 2) การวางเป้าหมายร่วมกัน 3) การสร้างความร่วมมือของครูในการทำงานร่วมกัน 4) การร่วมกันชี้แนะในการพัฒนางาน และ5) การร่วมกันสนทนาสะท้อนผลการปฏิบัติ รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยมีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทฤษฎีและหลักการพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบและกลไก 4) วิธีดำเนินงาน 5) การวัดและประเมินผล และ 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า หลังการพัฒนา ครูมีความรู้ด้านการวิจัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.17 มีทักษะการวิจัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.06 และมีเจตคติต่อการวิจัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.75 โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัย โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p>
ธีระยุทธ กิตตินภวัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
87
105
-
แนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/526
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 327 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยผู้วิจัยนำด้านที่มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง มากกว่า 0.30 มาสร้างเป็นแบบสัมภาษณ์แนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและประเมินแนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบประเมินด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.สภาพปัจจุบันบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางานเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปฏิบัติการสอน ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมและด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.แนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 แบ่งออกเป็น 6 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้กำหนดวิสัยทัศน์สถานศึกษาร่วมกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำแผนปฏิบัติราชการเพื่อยกระดับการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้การปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน 2) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้บูรณาการการบริหารงานตามภารกิจ 4 ด้าน กับการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน 3) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม โดยพัฒนาให้ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้สร้างนวัตกรรมในการบริหารอย่างมีส่วนร่วม 4) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและสมรรถนะทางการบริหาร สร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพ สร้างบรรยากาศในสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 5) ด้านการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้ใช้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนร่วมกับผู้เกี่ยวข้องกำหนดกลยุทธ์ เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 6) ด้านการปฏิบัติการสอน โดยพัฒนาผู้บริหารให้ตระหนักในความสำคัญของการร่วมปฏิบัติการสอนร่วมกับครู สนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษาเข้าถึงครูและห้องเรียนมากขึ้น นำปัญหาและความต้องการของแต่ละห้องเรียนมากำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษา ผลการประเมินแนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางานของสถานศึกษา ในด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนผลการประเมินด้านความเป็นไปได้ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ด้านการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา และด้านปฏิบัติการสอนอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p>
รัชฎาภรณ์ ภูกองพลอย
อำนาจ ชนะวงศ์
สายัณห์ ผาน้อย
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
106
125
-
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับสื่อประสม
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/528
<p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 2) ศึกษาเจตคติต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับสื่อประสม กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ แบบวัดเจตคติต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.35 คิดเป็นร้อยละ 68.97 วงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.04 คิดเป็นร้อยละ 80.26 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.12 คิดเป็นร้อยละ 87.44 ซึ่งนักเรียนทุกคนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ในวงจรปฏิบัติการที่ 3 2) เจตคติต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีเจตคติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดตามลำดับ คือ ด้านความรู้สึกต่อคณิตศาสตร์ ด้านความพร้อมที่จะกระทำหรือเรียนคณิตศาสตร์ และด้านความตระหนักในคุณค่าหรือประโยชน์ของคณิตศาสตร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13, 4.09 และ4.04 ตามลำดับ</p> <p> </p>
สุวีรา แซ่อึ่ง
วิทยา วรพันธุ์
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
126
144
-
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/529
<p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหากับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้การทดสอบทีกรณีกลุ่มเดียว (One sample t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.36/77.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 78.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 76.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p>
ธนภรณ์ เจนจิรโฆษิต
ฐิติวรดา พลเยี่ยม
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
145
160
-
ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/531
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) สมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 324 คน ซึ่งได้มาสูตรทาโรยามาเน่ และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation: r)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.47) และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.70) รองลงมาคือด้านร่วมมือกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.57) ส่วนด้านสนับสนุนให้บุคลากรใช้กระบวนการวิจัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.37) 2) สมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.56) รองลงมาคือด้านการบริการที่ดี (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.53) ส่วนด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.44) 3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวก (r = 0.92) กับสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
พรพิมล วงศ์บุญจันทร์
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
161
172
-
การวิเคราะห์จำแนกการรับรู้ความสามารถตามกรอบ TPACK ที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาผ่าน TCAS ของนักศึกษาครู : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/533
<p> </p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถของนักศึกษาครู 2) วิเคราะห์จำแนกการรับรู้ความสามารถของนักศึกษาครู และ 3) สร้างสมการจำแนกการรับรู้ความสามารถของนักศึกษาครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดทีแพคที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาผ่านระบบ TCAS กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 110 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สัดส่วน และทำการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้สาขาวิชาเป็นหน่วยในการสุ่ม หลังจากนั้นจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือนักศึกษาที่เข้าศึกษาผ่านระบบ TCAS รอบ 1 Portfolio จำนวน 60 คน และ รอบ 2 รับตรง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .925 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ความสามารถของนักศึกษาครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดทีแพค อยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในสมการจำแนก 4 ตัวแปร ได้แก่ ความรู้ในเนื้อหา(CK) ความรู้เทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้วิชาครูและความรู้ด้านเนื้อหา (TPACK) ความรู้เทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้วิชาครู (TPK) และความรู้เทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้ด้านเนื้อหา (TCK) ผลการวิเคราะห์พบว่าทั้ง 4 ตัวแปรเป็นตัวแปรสำคัญในการจำแนกกลุ่ม (Wilks’Lambda = .793 ,p < .05) โดยสามารถจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 77.50 ซึ่งความรู้ในเนื้อหา (CK) มีน้ำหนักในการจำแนกสูงสุด (.594) 3)สมการจำแนกในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน เป็น ดังนี้</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p> Y = -6.250 + 1.297CK -1.172TCK +.612TPK + .869TPACK</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Zy = .594CK -.580TCK +.483TPK +.537TPACK</p> <p> </p>
วนิดา หอมจันทร์
สุชาติ หอมจันทร์
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
173
191
-
ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/532
<p>การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาเดียวกัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยครูจากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วย 3 ตอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1.การศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่าภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านอำนาจการให้รางวัลมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านอำนาจการบังคับบัญชา และด้านอำนาจความเชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2.การศึกษาความแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา พบว่าภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสำเร็จในการทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านการได้รับการยอมรับมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig (2-tailed) = .01) ซึ่งบ่งชี้ว่าบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษามีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูอย่างมีนัยสำคัญ</p>
วิลัยวรรณ อินนันชัย
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
192
206
-
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/539
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 335 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีสภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.</span><span style="font-size: 0.875rem;">โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย 5 โมดูล 4) วิธีดำเนินการพัฒนา ยึดหลัก 70:20:10 ประกอบด้วย การปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา การศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p> </p>
ศักรินทร์ ถวิลผล
ธันยาภรณ์ นวลสิงห์
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
207
221
-
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/542
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา และพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 334 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งขั้นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา มีสภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ อันดับ 1 การกระจายและสร้างเครือข่าย อันดับ 2 การอนุรักษ์ความรู้นำสู่การพัฒนา อันดับ 3 ความยุติธรรมและเสมอภาค <br />อันดับ 4 การสืบสานความสำเร็จ อันดับ 5 การสร้างและส่งเสริมความหลากหลาย อันดับ 6 ความลุ่มลึกในองค์ความรู้ และอันดับ 7 การบริหารทรัพยากรและนวัตกรรม ตามลำดับ และโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย 7 โมดูล 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p><strong> </strong></p>
เพชรลดา ดอนกลาง
โกวัฒน์ เทศบุตร
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
222
241
-
การพัฒนาทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิค คิด-พูด-เขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/545
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค Think-Talk-Write 2) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกุดข้าวปุ้นวิทยา จำนวน 1 ห้องเรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test (Dependent Samples)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (1) การสร้างความสนใจ (2) การสำรวจและค้นหา (3) การอธิบาย (4) การขยายความรู้ (5) การประเมินผล ซึ่งผ่านการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญโดยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.57, S.D.= 0.61)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.ผลการเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีทักษะการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์หลังเรียนในแต่ละหน่วยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค Think-Talk-Write หลังเรียนในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.59, S.D.= 0.51)</span></p> <ol> <li> </li> </ol>
จักศิริวรรณ สำเภา
สมถวิล ขันเขตต์
ปริญา ปริพุฒ
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
242
260
-
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/546
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู จำนวน 264 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane (1973) และสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดสถานศึกษา จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับสลาก ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเท่ากับ .951 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าเท่ากับ .957 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
วิทยา ศรีอินทร์
ศิลป์ชัย สุวรรณมณี
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
261
277
-
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/534
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เรียนรายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 หมู่เรียน นักศึกษา 28 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความรับผิดชอบ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และ 4) แบบบันทึกสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษา มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น คือ“SPIRIT” ได้แก่ (1) กำหนดเป้าหมาย (Set goal) (2) ออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ (Plan) (3) นำไปปฏิบัติ (Implement) (4) ตรวจสอบและปรับปรุง(Review) (5) ประเมินบ่งชี้ความสำเร็จ (Identify) และ (6) ยอมรับปรับเปลี่ยน (Transform) 2) ผลการใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษา ประกอบด้วย 2.1) นักศึกษามีคะแนนการประเมินความรับผิดชอบของตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2.3) ผลจากการสะท้อนคิดพบว่า นักศึกษาได้คิดไตร่ตรองและสื่อสารเกี่ยวกับการเรียนรู้ของตนเองหลังการปฏิบัติภาระงานที่แสดงออกถึงการรู้งาน รู้ตน รู้กลวิธีในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง นำมากำหนดเป้าหมายเพื่อวางแผน ตรวจสอบ ประเมินผล และยอมรับผลของการปฏิบัติงานแล้วนำมาปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ของตนเองให้พัฒนาต่อยอดไป</p>
ปริญา ปริพุฒ
Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา ISSN: 3027 - 8481 (Online)
2024-12-15
2024-12-15
15 3
278
297